โยคะ

7 เหตุผลที่ต้องเล่น โยคะ พร้อมเทียบความต่างจากการออกกำลังกายทั่วไป

Alternative Textaccount_circle
โยคะ
โยคะ

สร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว การฝึก โยคะ เป็นกระบวนการสำหรับฝึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิต

โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4-5 พันปีก่อน ซึ่งถูกสงวนไว้เฉพาะโยคี และชนชั้นวรรณะพราหมณ์ เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาผ่านลัทธิฮินดู พุทธศาสนา ลัทธิเซนในประเทศจีน โดยนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้นๆ

และเป็นการสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว การฝึกโยคะจึงเป็นกระบวนการสำหรับฝึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิตให้มีความจดจ่อกับเรื่องลมหายใจเข้าออก ที่จะนำไปสู่การมีสมาธิที่ดีขึ้น ในแง่ปฏิบัติต้องรวมสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ การประสานลมหายใจเข้าออกกับการเคลื่อนไหว และมีจิตสงบนิ่งในขณะที่เคลื่อนไหว

โยคะ ต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร

โยคะ ต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร
โยคะ ต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร

โยคะ

  • เน้นที่ความนิ่ง และท่าของร่างกายที่นิ่ง
  • เป็นสภาวะแบบรับ (Passive) ความตึงของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ผ่อนคลาย
  • เน้นการเหยียดกล้ามเนื้อและการประสานของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ
  • ใช้ความรู้สึกภายในเป็นตัวนำท่าทาง
  • เน้นส่งเสริมการทำงานของอวัยวะภายในและบริเวณแขน ขา
  • พิจารณาตัวผู้เล่นเป็นองค์รวม จึงช่วยรักษาสมดุลของทั้งร่างกายแบบเฉพาะบุคคล
  • กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่รับผิดชอบด้านการผ่อนคลาย
  • ใช้แรงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ไม่มีการฝืน
  • ลดการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้งห้า
  • เป็นกิจกรรมที่ใช้ “ความรู้สึก” เป็นตัวนำ ให้ความสำคัญที่จิตใจเป็นหลัก

การออกกำลังกายทั่วไป

  • มีการเคลื่อนไหว มีการใช้แรง
  • เป็นสภาวะการทำซ้ำๆ (Active) กล้ามเนื้อตึง เกร็งอยู่ตลอดเวลา
  • เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อพัฒนาระบบกล้ามเนื้อโดยตรง
  • ใช้การรับรู้ต่อสภาวะภายนอกเป็นตัวนำ
  • เน้นพัฒนากล้ามเนื้อกลุ่มหลักๆ ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณแขน ขา
  • เน้นความเชี่ยวชาญหรือความชำนาญในการเล่นกีฬานั้นๆ เพื่อความสนุกหรือไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่รับผิดชอบด้านการตื่นตัว
  • การออกกำลังกายบางประเภทต้องใช้แรงให้มากที่สุด หรือใช้แรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น
  • เปิดประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างตื่นตัว
  • เป็นกิจกรรมที่ใช้ “การกระทำ” เป็นตัวนำ ให้ความสำคัญที่กล้ามเนื้อเป็นหลัก
โยคะ

7 ข้อดีที่ควรเล่นโยคะ

  1. Strengthen core muscles & Improve posture การเล่นโยคะจะช่วยให้กล้ามเนื้อแกนกลางมีความแข็งแรง ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการตึงคอบ่าไหล่อันเป็นผลมาจากการมี Posture ที่ดีขึ้น เนื่องจากหลายคนมักมีอาการปวดหลังจากการที่นั่งผิดท่า จากการทำงานหรือขับรถ ซึ่งทำให้ Posture ผิดและทำให้เกิดความตึงของกล้ามเนื้อหลัง จนกระทั่งเกิดการกดทับกระดูกสันหลัง ซึ่งโยคะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้
  2. Top to toe flexibility โยคะสามารถคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) ตั้งแต่หัวจรดเท้า เพราะท่าต่างๆ ขณะที่เราเคลื่อนไหวหรือยืดตัวนั้น จะทำให้เรามีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อโคนขาทางด้านหลัง หลัง ไหล่ และสะโพก
  3. Confidence booster เพิ่มความมั่นใจในการเดินและบุคลิกภาพที่ดี ท่าโยคะหลายท่าทำให้ต้องถ่ายเทน้ำหนักร่างกายในวิธีใหม่ๆ รวมถึงการทรงตัวบนขาข้างเดียว (เช่น ในท่าต้นไม้) หรือการค้ำยันตัวเองไว้ด้วยแขน (เช่น ในท่าสุนัขก้มหน้า) การทำท่าเหล่านี้พร้อมกับควบคุมลมหายใจจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและพัฒนาสมดุลร่างกายที่ดีขึ้นเป็นหนึ่งในประโยชน์สำคัญที่ได้จากโยคะ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น ท่าที่ต้องยืนบนขาข้างเดียวและท่ากลับหัวจะสร้างความแข็งแรงจากแกนกลางที่จะช่วยให้ลำตัวตั้งตรง
  4. Help you keep your cool โยคะช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่มักจะหลั่งออกมาเมื่อเราเกิดความเครียด โดยเคสการศึกษาพบว่าการฝึกโยคะสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นเวลา 2 ปียังลดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบได้ถึง 41%
  5. Better libido โยคะช่วยคลายความกังวล และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศในร่างกาย ช่วยทำให้ผู้ฝึกบางรายที่มีปัญหาเรื่องอารมณ์ทางเพศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  6. You are happier and sleep better โยคะช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยทำให้อารมณ์ดี การเล่นโยคะอย่างน้อย 1 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้สมองหลั่งสารกาบา (GABA) เพิ่มขึ้นได้ถึง 27% ซึ่งกาบา (GABA) หรือ แกมมา อะมิโนบิวทีริก แอซิด (Gamma-Aminobutyric acid) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านทาน (Inhibitor) เพื่อรักษาความสมดุลของระบบสารสื่อประสาท ทำหน้าที่ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียด ลดอาการกระวนกระวายใจ ช่วยให้หลับง่ายขึ้น จึงสร้างสมดุลการพักผ่อนอย่างแท้จริง
  7. You look younger สามารถช่วยให้เราดูอ่อนเยาว์ กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น เนื่องจากช่วยให้ร่างกายมีการผลิตโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) และฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA hormone) ออกมา ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ช่วยให้ผิวพรรณดูอ่อนเยาว์ มีพลัง กระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา
โยคะ

หลักสำคัญของการฝึกโยคะ

  • หายใจแบบโยคะให้ถูกต้อง : หายใจเข้า-ท้องพอง, หายใจออก-ท้องแฟบ ให้สอดคล้องเป็นจังหวะกับท่าฝึกแต่ละท่า โดยสูดอากาศเข้าให้พอดีกับท่าฝึกเพื่อให้ได้ออกซิเจนมากพอ และปล่อยลมหายใจออกให้สุด เพื่อขับอากาศเสียออกจากร่างกาย และลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
  • ฝึกท่าแต่ละท่าช้าๆ เป็นจังหวะที่ลงตัว ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตามข้อจำกัดธรรมชาติร่างกายของแต่ละบุคคล อย่าฝืนเกินไป เช่น ยืดตัวมากเกินไป เกร็งเกินไป ตึงมากไป บิดมากเกินไป ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพแต่ละประเภท ควรฝึกทีละขั้น โดยเริ่มจากท่าง่ายๆ ก่อน
  • การกำหนดจิต (Concentration) ให้มีสมาธิมุ่งมั่นให้เป็นหนึ่งเดียวกับการฝึกโดยไม่วอกแวก จะทำให้จิตสงบเข้าถึงสมาธิได้ดี พยายามไม่คุยกันระหว่างการฝึก ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ ควรฝึกเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  • หยุดพักและผ่อนคลายหลังฝึกแต่ละท่า ให้หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ 5-7 รอบ เพื่อคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และปรับร่างกายเข้าสู่สภาวะปกติก่อนที่จะฝึกท่าต่อไป
โยคะ

ข้อควรระวังในการเล่นโยคะ

  • ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน คนที่ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์ หรือครูฝึกที่ได้รับการอบรมก่อนการฝึก เพราะในท่าแต่ละท่าจะมีบางจุดที่อาจเป็นอันตรายกับโรคบางโรคได้ เช่น คนที่มีปัญหาที่คอจะไม่สามารถทำท่าที่บิดคอมากๆ ได้ คนที่มีความดันโลหิตสูงและหรือต่ำไม่ควรทำท่าก้มศีรษะมากเกินไป
  • ควรฝึกในห้องโล่ง ไม่มีเสียงรบกวน
  • ไม่ควรฝึกหลังอาหารทันที ควรเว้นช่วงอย่างน้อย 1-3 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการจุก และหลังจากฝึก ควรเว้นช่วงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จึงจะรับประทานอาหารมื้อหนักได้
  • ถ้าเป็นไปได้ควรขับถ่ายก่อน และเลือกเสื้อผ้าสวมใส่สบายพอดีตัว ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป
  • ผู้ฝึกใหม่ ในตอนแรกไม่ต้องกังวลกับการหายใจ ให้ฝึกท่าก่อน การหายใจแบบโยคะจะไม่เหมือนการหายใจแบบปกติ คนฝึกใหม่หลายๆ คนอาจไม่ชินและเป็นกังวลมากไป และเริ่มจากท่าง่ายไปท่ายาก อย่าก้าวกระโดด “ห้าม” ฝืนร่างกายตัวเอง ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้ อย่าเกร็ง อย่ารีบร้อน หัวใจสำคัญในการฝึกโยคะคือการทำให้ร่างกายผ่อนคลายที่สุด
โยคะ

อย่ามองถึงผลที่อยากได้ เช่น รูปร่างที่ดี ท่าสวยงาม การทรงตัวที่สมบูรณ์แบบเหมือนครูฝึก แต่อยากมองที่ความคืบหน้าในแต่ละครั้ง เพื่อไม่กดดันตัวเองมากจนเกินไป


ข้อมูล : ดร. เบญจพล เบญจพลากร ผู้ชำนาญด้านกีฬาและออกกำลังกาย รพ.สมิติเวช สุขุมวิท
ภาพ : Pexels

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up