เผย 3 เทรนด์ ‘เกษตรไทย’ มาแรงบนเวทีประกวด ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ ปีที่ 9

‘เกษตรไทย’ กับเทรนด์ที่กำลังมาแรง 

ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ผย 3 แนวโน้มสำคัญเกษตรไทย ชูกลยุทธ์ “เกษตรเชิงข้อมูล – พลังงานหมุนเวียน – ชีววิธี” ขับเคลื่อนเกษตรครบวงจร ปูทางสู่ เกษตรกร 4.0 พร้อมประกาศผลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ. 2560

นางสาวภาณี บุณยเกื้อกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร

จากผู้สมัครเข้าประกวดกว่า 80 คน ได้ถูกคัดกรองจนเหลือเกษตรกรต้นแบบ ซึ่งผู้ชนะเลิศ โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2560 คือนางสาวจิราวรรณ คำซาว เกษตรกรผู้เพาะเห็ดถั่งเช่าจากปุ๋ยชีวภาพ จากจังหวัดเชียงใหม่ โดยชูจุดเด่นด้าน “นวัตกรรม” พัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยนำความรู้ที่เรียนในระดับปริญญาเอกมาต่อ ยอดพัฒนาปุ๋ยชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี สร้างแบรนด์ของตัวเอง อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดทำให้ผู้บริโภคตรวจสอบที่มาของสินค้าได้ นอกจากนี้ยังรวมกลุ่มกับวิสาหกิจชุมชนกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นที่อยู่อาศัยอีกด้วย

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด

รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายพิเชษฐ์ กันทะวงศ์ เกษตรกรผู้เพาะปลูกเมล่อน ภายใต้แบรนด์โอโซนฟาร์ม จากจังหวัดเชียงราย โดยยึดหลักเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชโดยไม่พึ่งสารเคมี เป็นทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของผู้บริโภค ภายใต้การบริหารจัดการ และควบคุมคุณภาพผลผลิตที่ยึดมั่นตามมาตรฐานหลักการทำเกษตรที่ดีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (GAP) นอกจากนี้ยังสร้างแบรนด์ด้วยการตลาดออนไลน์ผ่านเฟสบุกแฟนเพจ โดยมีผู้ติดตามกว่า 42,000 คน และพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ๆ ที่ต่อยอดจากเมล่อนอีกหลายรายการ

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวสิริพร เที่ยงสันเที้ยะ เกษตรกรยุคดิจิทัล ผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่จากไร่พวงทรัพย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำนาในอดีตที่ใช้สารเคมีอย่างหนักในการกำจัดศัตรูพืช มาเป็นการทำนาแบบปลอดสารพิษ เพราะเล็งเห็นว่าการกินข้าวที่ปลูกโดยสารเคมีนั้นไม่ต่างจากการกินข้าวอาบยา ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ผสานกับภูมิปัญญาไทย โดยประยุกต์การตากข้าวแบบธรรมชาติร่วมกับเทคโนโลยีการสีและบรรจุหีบห่อด้วยเครื่องสุญญากาศ ทำให้การเก็บรักษามีอายุที่ยาวนานขึ้น

เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา และสร้างความอยู่ดีมีความสุขได้อย่างแท้จริง

Praew Recommend

keyboard_arrow_up