สัญญาณ ‘โรคฮาชิโมโต’ หรือภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน

แนะทุกวัยหมั่นตรวจเช็คอาการตนเองจากสัญญาณของ โรคฮาชิโมโต หากรู้เร็ว รักษาได้ทัน และควรกินอาหารครบหมู่ ใช้ชีวิตให้สมดุล แบ่งเวลาทำงานและพักผ่อนให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงสุราและบุหรี่หากมีอาการที่สงสัย เช่น คอโตขึ้น ควรมาพบแพทย์ หมั่นสังเกตสัญญาณ ‘โรคฮาชิโมโต‘ หรือภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน โรคฮาชิโมโต หรือภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นสาเหตุของภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำที่พบได้บ่อย เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำให้ต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบเรื้อรังและทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมไทรอยด์เป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนที่สอดคล้องกับการทำงานหลายอย่างของร่างกาย โรคฮาชิโมโตมีจากหลายปัจจัย ได้แก่ กรรมพันธุ์ คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง โรคเหล่านี้เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของไทรอยด์ที่ผิดปกติ บางครั้งอาจแสดงในกลุ่มของอาการที่ไทรอยด์มากเกินไปหรือไทรอยด์น้อยเกินไป ขึ้นอยู่กับภูมิตัวนี้ไปยับยั้งหรือทำให้มีการสร้างฮอร์โมนมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าในครอบครัวมีคนเป็นโรคไทรอยด์จึงควรไปตรวจสุขภาพ อาจจะพบมากขึ้นในบางเชื้อชาติ การกินสารไอโอดีนมากเกินไป หรืออาจจะสัมพันธ์กับโรคภูมิคุ้มกันอื่นๆ เพศหญิงจะเป็นโรคไทรอยด์มากกว่าเพศชาย พบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่สามารถพบในเด็กวัยรุ่นและวัยกลางคนได้เช่นกันฃ อาการของโรคฮาชิโมโต ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น เกิดเป็นคอพอกที่ไม่มีอาการเจ็บปวด อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หน้าบวม รู้สึกหนาวง่าย ผิวแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ วิธีการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ในวัยทำงานใช้ชีวิตให้สมดุล แบ่งเวลาทำงานที่เหมาะสม […]

ไทรอยด์ อ้วน-ผอม ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษา

แม้ภาวะน้ำหนักตัวน้อยหรือมากผิดปกติ บ่อยครั้งจะเกิดจากโภชนาการและการปฏิบัติตัว แต่หลายครั้งปัญหาดังกล่าวก็อาจเกิดจากโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินได้ด้วย นอกจากนี้ ภาวะ ไทรอยด์ ทำงานผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณแรกของมะเร็งต่อมไทรอยด์ การวินิจฉัยและรักษาให้ได้อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญอย่างมาก  ไทรอยด์ อ้วน-ผอม ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษา ต่อมไทรอยด์ คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่ส่วนหน้าของลำคอ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมการลดและเพิ่มของน้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การย่อยอาหาร และช่วยด้านพัฒนาการทางสมองในเด็กทารก  ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ภาวะพร่องไทรอยด์ และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน  สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป […]

keyboard_arrow_up