ไขข้อสงสัย 5 เรื่องที่เกี่ยวกับ ‘โรคหัวใจ’ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้อง

โรคหัวใจ โรคที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร เนื่องในโอกาสวันหัวใจโลกปี 2565 โครงการ Hug Your Heart โดยแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้เชิญ นายแพทย์ ธีรวิทย์ เหลืองดิลก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลตรัง มาร่วมถ่ายทอดความรู้ พร้อมตอบคำถามเกี่ยวกับโรคหัวใจชนิดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จัก พร้อมเตรียมรับมือกับโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น นายแพทย์ ธีรวิทย์ เหลืองดิลก เผยว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่ จะมาพร้อมกับ 3 โรคหลัก ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) ซึ่งแต่ละโรคจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือ โรคหรือภาวะบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือดได้น้อยลง ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมต่างๆ เช่น กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไป หรือภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส […]

คนโสดที่มัก อกหัก ผิดหวังในความรักสายไหน เสี่ยงโรคหัวใจมากที่สุด

อกหัก คือประสบการณ์ทางความรักที่ใครหลายคนอาจเคยผ่านมาในชีวิต เช่น อกหักเพราะแฟนหรือคู่ชีวิตทอดทิ้ง อกหักเพราะแอบรักเขาข้างเดียวและเขาก็มีแฟนอยู่แล้ว การอกหักเป็นความไม่สมหวัง ความผิดหวังส่งผลให้เกิดความเสียใจ แต่จะเสียใจนานแค่ไหนหรือมีพฤติกรรมหลังอกหักอย่างไร ขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ละคน มาดูกันว่าอกหักสายไหนเสี่ยงโรคหัวใจ หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่ากัน อกหักสายกิน (​แหลก) สายนี้บรรเทาความเครียดหรือความผิดหวังด้วยการกิน ทั้งของที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ แม้อาการช่วงแรกที่มีผลมาจากความเครียดทำให้เราจะกินอะไรไม่ค่อยลง หลังจากนั้นไม่นาน เราจะเริ่มมีอาการอยากกิน จนกลายเป็นคนกินจุ และมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามมาได้ นั่นเพราะเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ระดับฮอร์โมนคอติซอลที่สูงขึ้น จะส่งผลให้ระดับอินซูลินสูงขึ้นตาม ทำให้ร่างกายอยากของหวานมากขึ้น นอกจากนั้นในบางรายที่นอนดึก นอนไม่หลับ จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความหิวอย่างเกรลินออกมามากผิดปกติ ทำให้เราอยากทานน้ำตาล อาหารไขมันสูง หรืออาหารรสเค็ม มากเป็นพิเศษ หากไม่ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โรคอ้วนจะตามมาได้ และเมื่อมีภาวะอ้วน จะส่งผลให้เกิดการอักเสบซ่อนเร้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวานและ โรคหัวใจ ได้ อกหักสายเมา (มาย) สายนี้ถ้าปล่อยให้ อกหัก มักจะรีบโทรหาเพื่อนเพื่อชวนดื่มแอลกอฮอล์​ ประหนึ่ง “วันนี้ต้องเมา วันนี้ต้องลืมเธอให้ได้” แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม คือเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) หรือเอทานอล […]

8 วิธีสังเกต อาการเสี่ยงโรคหัวใจ หนึ่งในโรคที่เสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย

8 วิธีสังเกต อาการเสี่ยงโรคหัวใจ หนึ่งในโรคที่เสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย ใจสั่น แน่นหน้าอก จุกแน่นจนหายใจไม่ออก จากภาวะโรคหัวใจ เป็นอาการที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดหรือเป็นบ่อยแค่ไหน หลายครั้งที่เมื่อเดินทางไปพบแพทย์ มักไม่แสดงอาการ ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยว่าสาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน จึงกล่าวได้ว่า โรคหัวใจ คือ ภัยเงียบที่น่ากลัวและไม่ควรมองข้าม นายแพทย์ธัญญ์ สุวัฒนวิโรจน์ แพทย์ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เล่าว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้จำนวนผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจมีเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลทางสถิติกระทรวงสาธารณสุข (2561) พบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิต 20,855 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจมาจากหลายปัจจัย ทั้งในเรื่องของกรรมพันธุ์ เพศ อายุที่มากขึ้น หรือแม้แต่การใช้ชีวิตแบบไม่ระมัดระวัง ทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ […]

‘ลิ่มเลือดอุดตัน’ ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ? และใครที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้

สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกใหม่อยู่ในขณะนี้ ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเท่าที่ควร เชื้อไวรัสยังคงแพร่กระจายและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังยิ่งต้องระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น หากได้รับเชื้อ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานแย่ลงอาจเกิดอาการหัวใจล้มเหลวได้ การฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้ป่วย ซึ่ง นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ หัวหน้าศูนย์ตรวจสมรรถภาพหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในประเทศไทยแล้ว และกำลังจะมีใช้ในประเทศไทยเพิ่มอีกนั้น ประกอบด้วย Sinovac จากประเทศจีนเป็นวัคซีนที่ผลิตจากไวรัสที่ไม่มีชีวิต (เชื้อตาย) AstraZeneca/Oxford วัคซีนที่ใช้ไวรัส Adenovirus เป็นไวรัสที่ไม่ได้ก่อโรคในคน เข้าไปในเซลล์เพื่อผลิตภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโควิด-19 Sputnik V จากรัสเซีย เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเทคโนโลยีเวกเตอร์ไวรัส (Viral Vector) เหมือนกับวัคซีน AstraZeneca คือ ใช้ไวรัสชนิดอื่นเป็นตัวพาสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน mRNA from Pfizer วัคซีนที่ใช้เทคนิคชนิดใหม่อย่าง mRNA โดยการฉีดพันธุกรรมโมเลกุลที่เรียกว่า mRNA ChulaVac เป็นวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทย โดยใช้เทคนิค mRNA แบบเดียวกันกับไฟเซอร์หรือ Moderna สยามไบโอไซเอนซ์ บริษัทของไทยที่ผลิตวัคซีนถอดแบบการผลิตเดียวกับเทคนิคของ AstraZeneca/Oxford ปัจจุบันมีการพูดถึงอย่างมากถึงผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งความจริงแล้วผลข้างเคียงมีน้อยมาก และส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หากชั่งน้ำหนักแล้วประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 […]

9 โรคเสี่ยงตายจาก ผลิตภัณฑ์อกฟูรูฟิต แม้เป็นสมุนไพรแต่ทำไมไม่ควรกิน!!

เชื่อว่าทุกวันนี้ยังมีคนซื้อเพราะเชื่อโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงในโซเชี่ยลอีกมาก และก็ยังมีหลายคนที่อยากทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์อกฟูรูฟิต ที่กล่าวอ้างว่าช่วยให้อกฟูรูฟิต เพราะมีเพื่อนบ้านมาแนะนำให้ซื้อกิน บอกว่าจะช่วยให้หน้าอกใหญ่ขึ้นและทำให้ช่องคลอดกระชับ ซึ่ง พญ.ชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ รพ.ประจำจังหวัดพิจิตร จะมาไขข้อข้องใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอันตรายไหม และสามารถกินได้หรือไม่ ความกลัวที่ว่าสามีจะไม่รัก หากไม่เซ็กซี่ ไม่มีหน้าอกใหญ่ๆ ช่องคลอดไม่ฟิตกระชับนั้น ย่อมซ่อนอยู่ในใจของผู้หญิงจำนวนหนึ่ง นี่จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ประเภทช่วยอกฟูรูฟิต ซึ่งขายดิบขายดีมียอดขายรวมหลายร้อยหลายพันล้านต่อปี หากเราเปิดอินเทอร์เน็ตค้นคำว่าอกฟูรูฟิต จะเจอกับผลิตภัณฑ์นับร้อยที่โฆษณาสรรพคุณว่าช่วยให้หน้าอกใหญ่ กระชับช่องคลอด ร่วมกับสรรพคุณด้านความงามอื่นๆ แต่ก็จะเจอผู้โพสต์เกี่ยวกับอันตรายของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากมาย เช่น มีคนไข้รายหนึ่ง หลังจากกินผลิตภัณฑ์อ้างสรรพคุณอกฟูรูฟิตติดต่อกันเป็นเดือน พบว่าหน้าอกเต่งตึงขึ้นจริง แต่ปัสสาวะไม่ออก ปวดท้องรุนแรง ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการผ่าตัดด่วน เพราะมีเนื้องอกมดลูกขนาดโตเท่าผู้หญิงที่มีอายุครรภ์สี่เดือนกดทับกระเพาะปัสสาวะจากฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คนไข้อีกหลายรายประจำเดือนมามาก ตกเลือดจนต้องให้เลือด และไปจบที่ต้องนอนโรงพยาบาล ทั้งยังมีคนไข้เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเต้านมกำเริบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นได้ ในเมื่อคำโฆษณาของผลิตภัณฑ์กล่าวถึงสรรพคุณที่ว่าอกฟูรูฟิต มีส่วนประกอบของสมุนไพรจากธรรมชาติปลอดภัย มีงานวิจัยรับรอง มี อย. และ GMP ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แม้เป็นสมุนไพร แต่ไม่ผ่านการทดลองตามข้อกำหนดเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่จะรับรองให้เป็นยา จึงได้ชื่อว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือเสริมอาหาร ไม่ใช่ยา บนฉลากจึงไม่สามารถเขียนคำว่ารักษาโรคและป้องกันโรคได้ ส่วนการที่ อย.รับรอง แปลว่ามีส่วนประกอบของสมุนไพรตามฉลาก ไม่ได้แปลว่าได้ผลดีและปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ […]

แก่แบบสุขภาพดี! 4 เคล็ดลับ เสริมเกราะภูมิต้านทาน ให้แข็งแกร่งแม้อายุเริ่มมากขึ้น

นิยาม “การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี” (Healthy Aging) ของแต่ละคนอาจมีความหมายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการที่สติปัญญายังเฉียบแหลม สมองได้ฝึกคิดตลอดเวลา มีสุขภาพร่างกายที่ยังฟิตและแข็งแรง หรือสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระแม้อายุมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นคำตอบไหน เรื่องการสูงวัยก็ถือเป็นปัญหาความกังวลของใครหลายคน ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม ซึ่งผลสำรวจการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีของ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปี 2563 พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องการสูงวัย แต่มีเพียง 3 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าพวกเขาจะก้าวสู่การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีได้ เมื่อถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความกังวลใจเรื่องการสูงวัย ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย (ร้อยละ 42) กล่าวว่าความกลัวว่าจะต้องเจ็บป่วยเพราะภูมิคุ้มกันต่ำเมื่ออายุมากขึ้นเป็นปัญหาความกังวลอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยกลัวว่าจะพึ่งพาตัวเองได้น้อยลงเมื่อร่างกายอ่อนแอลง (ร้อยละ 20) และกังวลว่ารูปร่างหน้าตาจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดเมื่ออายุมากขึ้น (ร้อยละ 19) ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่เราต้องให้ความสำคัญกับการ เสริมเกราะภูมิต้านทาน ให้แข็งแรง เพื่อช่วยร่างกายต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเราอายุมากขึ้น การเสริมระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงจึงยิ่งสำคัญมากกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อเราอายุมากขึ้น เคยสังเกตไหมว่าเรามักจะล้มป่วยบ่อยขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น และร่างกายของเราต้องใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัวจากความเจ็บป่วย สิ่งนี้เป็นผลจากกระบวนการทางธรรมชาติที่เรียกว่าภาวะ Immunosenescence ซึ่งส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเราเสื่อมถอยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับไวรัสและการติดเชื้อได้น้อยลง และจำนวนเม็ดเลือดขาวของเราก็ลดลง ทำให้ร่างกายรักษาโรคได้ช้าลงเมื่อเราบาดเจ็บหรือเป็นหวัด ยิ่งไปกว่านั้น ความเครียดยังมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเมื่อเราอายุมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ […]

3 กลุ่ม อาหารเสริม ที่อาจพบยาต้องห้าม เสี่ยงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัจจุบันคนหันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น โดยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ ตรวจสุขภาพแบบครอบคลุม และหันมากินผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม เพื่อชะลอวัยหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ หรือใช้แทนการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน แต่การเลือกอาหารเสริมทานเอง สิ่งแรกที่ควรทำคือ ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือเภสัชกร นอกจากนั้นยังต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการปลอมปน และปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลงและสารพิษจนสะสมในร่างกายได้ หนึ่งในหลายอาการผิดปกติ ที่มักจะพบหลังจากทานอาหารเสริมที่ไม่เหมาะสม คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไป (ปกติหัวใจจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที)  ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของการนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ในกรณีกลุ่มโรคหัวใจเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation) อาการที่สังเกตได้ เช่น หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ใจสั่น หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลมหรือหมดสติ สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ และจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจัยภายนอก ที่สามารถพบได้คือ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สภาพแวดล้อม อากาศที่ร้อนจัด ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ การกินอาหารเสริมที่ส่งผลต่อหัวใจ ปัจจัยภายใน ได้แก่ อายุที่มากขึ้น โรคประจำตัว […]

ไฟโตนิวเทรียนท์ อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ร่างกายรับสารต้านอนุมูลอิสระได้ง่าย

ไฟโตนิวเทรียนท์ คืออะไร? ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ วันนี้ แพรวดอทคอม พาให้ทุกคนไปรู้จักอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ร่างกายต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากความเครียด และความวิตกกังวลจากการทำงาน นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ถือเป็นพฤติกรรมที่กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะค่อยๆ สะสม ทำให้เซลล์ภายในร่างกายเสื่อม ตาย หรือกลายพันธุ์ ส่งผลให้ป่วย ดูแก่ชราก่อนวัยอันควร และที่สำคัญคือเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs อีกด้วย ซึ่งการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นอกจากหลีกเลี่ยงไลฟ์สไตล์ที่สุ่มเสี่ยงแล้ว ยังสามารถป้องกันได้ง่ายๆ เริ่มจากการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน จากข้อแนะนำตามธงโภชนาการ ควรทานผลไม้วันละ 3-5 ส่วน ซึ่งผลไม้และน้ำผลไม้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึง ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) ต่างๆ ที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ และช่วยลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ด้วยความเร่งรีบในการดำรงชีวิตปัจจุบัน ทำให้คนส่วนใหญ่ทานได้ในปริมาณที่ไม่ถึง ดังนั้น การดื่มน้ำผลไม้ที่มีไฟโตนิวเทรียนท์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ได้ง่ายและสะดวก รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับสารอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอ โดยเฉพาะวัยรุ่น หนุ่มสาว และวัยทำงานที่อาจทานอาหารไม่ครบทุกมื้อ รวมทั้งผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยว หรือการย่อยและการดูดซึม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพและการชะลอวัย ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ (ประธานฝ่ายวิชาการ ชมรมโภชนวิทยามหิดล) […]

เบอร์รี่ดีกับหัวใจ

สตรอเบอร์รี่และบูลเบอร์รี่เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีประโยชน์สุขภาพหลายประการ หนึ่งในนั้นคือดีกับหัวใจ

ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์…คำตอบเพื่อสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด

ท่ามกลางกระแสสังคมอันรีบเร่งที่บังคับให้ผู้คนในปัจจุบันต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเพื่อแข่งกับเวลา ทำให้หลายคนไม่สามารถดูแลสุขภาพร่างกายได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ

พันธุกรรมอาจไม่เปลี่ยน แต่พฤติกรรมป้องกันได้

พันธุกรรมอาจมีส่วนทำให้คนเราเสี่ยงเป็นโรคบางโรคมากน้อยแตกต่างกันไป แต่พฤติกรรมก็ช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้

keyboard_arrow_up