แครอล มิดเดิลตัน ใส่เสื้อผ้าดัชเชสเคทซ้ำ ตอกย้ำแฟชั่นแบบยั่งยืน

like mother, like daughter…. แครอล มิดเดิลตัน ตอบรับกระแสแฟชั่นแบบยั่งยืน นำเสื้อผ้าของลูกสาว ดัชเชสเคท กลับมาใส่ซ้ำอีกครั้ง แครอล มิดเดิลตัน ใส่เสื้อผ้าดัชเชสเคทซ้ำ ตอกย้ำแฟชั่นแบบยั่งยืน ไม่เพียงแค่ดัชเชสเคทที่ชอบนำเสื้อผ้ากลับมาใส่ซ้ำ แต่พระมารดาของพระองค์ แครอล มิดเดิลตันก็ทำเฉกเช่นเดียวกัน โดยในวันงาน Royal Ascot ที่ผ่านมา แครอลได้สวมชุดเดรสสีชมพูจากแบรนด์ ME+EM ราคา $695 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเดรสตัวนี้ ดัชเชสเคทสวมครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2021 ระหว่างเสด็จเยือนสกอตแลนด์ ซึ่งพระองค์เปลี่ยนจากผ้าผูกเอวสีชมพู เป็นเข็มขัดจากแบรนด์ Boden ทั้งนี้ ไม่มีความชัดเจนว่า เป็นชุดเดรสตัวเดียวกันหรือไม่ แต่เดรสรุ่น Colour Block Silk Shirt Dress + Belt จาก ME+EM ได้ประกาศว่าสินไม่มีจำหน่ายนานแล้ว อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แครอลใส่เสื้อผ้า หรือ ไอเท็มซ้ำกับดัชเชสเคท เพราะหากย้อนกลับไปดูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แครอลได้นำหมวกของดัชเชสเคทที่ใส่ไปร่วมงานแต่งงานของ Nicholas […]

กฎราชวงศ์! ‘ดัชเชสเคท’ แสดงความเคารพต่อสกอตแลนด์ ในชุดสีน้ำเงิน

การแต่งกายของราชวงศ์อังกฤษมักสื่อความหมายเสมอ ชุดสีน้ำเงินของ ดัชเชสเคท ในการเสด็จฯ เยือนสกอตแลนด์ก็เช่นกัน เพราะนอกจากความสวยงามแล้ว สีน้ำเงินยังสื่อถึงสกอตแลนด์อีกด้วย ดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ เสด็จฯ เยือนสกอตแลนด์ ประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สำหรับมินิรอยัลทัวร์ในเดือนพฤษภาคม วันแรกที่เสด็จฯ ถึงสกอตแลนด์ ดัชเชสเคทปรากฏตัวในชุดสีน้ำเงินอันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และที่ดัชเชสเคททรงเลือกชุดสีน้ำเงินสดใสก็เพื่อสะท้อนถึงสีธงชาติของสกอตแลนด์ ที่ใช้พื้นธงสีน้ำเงินและมีกากบาทสีขาว ทั้งนี้สีน้ำเงิน-ขาวยังเป็นสีประจำชาติของสหราชอาณาจักรอีกด้วย กฎราชวงศ์! ‘ดัชเชสเคท’ แสดงความเคารพต่อสกอตแลนด์ ในชุดสีน้ำเงิน โดยเสื้อเบลเซอร์สีน้ำเงินของดัชเชสเคทมาจากแบรนด์โปรด Zara กระโปรงอัดจีบจาก Hope ส่วนกระเป๋าคลัทช์ของ Metier และรองเท้าส้นสูงก็มาในโทนสีน้ำตาลที่เข้ากัน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ดัชเชสเคทจะแสดงการให้เกียรติและเคารพประเทศที่เสด็จฯ เยือน ก่อนหน้านี้ในการเยือนไอร์แลนด์เมื่อปี 2020 ดัชเชสเคทก็ทรงสร้างความประทับใจด้วยโททัลลุคสีเขียว ซึ่งเป็นสีที่แสดงถึงตัวตนของชนชาติไอร์แลนด์หรือชาวไอริชมาแล้ว เรียกว่าแฟชั่นของราชวงศ์อังกฤษไม่ได้มีเพียงความสวยงามเท่านั้น เพราะสมาชิกมีกฎที่ต้องปฏิบัติตาม การจะเลือกสวมใส่อะไรย่อมเป็นที่จับตามอง เช่นเดียวกับการเยือนประเทศต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทที่ The English Manner อธิบายเกี่ยวกับการแต่งกายของราชวงศ์ว่า การแสดงความเคารพต่อประเทศเจ้าภาพเป็นสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งเราจะเห็นดัชเชสเคสทรงสวมสัญลักษณ์หรือสีของประเทศนั้นๆ เป็นเรื่องปกติในระหว่างการเยือนต่างประเทศ รวมถึงควีนเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าหญิงไดอาน่าก็ทรงปฏิบัติตามกฎข้อนี้เช่นกัน ภาพ : IG@katemidleton1 เรื่อง : […]

ชุดวันเกิด เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ สร้างประวัติศาสตร์ในรอบ 25 ปี ขายหมดเร็วที่สุด

ทรงอิทธิพลด้านแฟชั่นไปไม่น้อยกว่า ดัชเชสเคท เมื่อ ชุดวันเกิด เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ในพระฉายาลักษณ์ที่ถูกปล่อยออกมาในวันคล้ายวันประสูติพระชันษา 6 ปี สามารถขายหมดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของแบรนด์  ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทางอินสตาแกรมออฟฟิเชียล thedukeandduchess_ofcambridge ได้เผยแพร่พระฉายาลักษณ์ของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระชันษา 6 ปี ซึ่งพระสไตล์ที่เต็มไปด้วยความสดใสของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ถูกถ่ายโดยฝีพระหัตถ์ของดัชเชสเคท ผู้เป็นพระมารดา ชุดวันเกิด เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ สร้างประวัติศาสตร์ในรอบ 25 ปี ขายหมดเร็วที่สุด หลังจากพระฉายาลักษณ์นี้ถูกปล่อยออกมาไม่นาน แฟนๆ ของราชวงศ์ก็ชื่นชอบชุดเดรสลายดอกไม้กันอย่างมาก ซึ่งเป็นของนักออกแบบเสื้อผ้าเด็กคนดัง Rachel Riley ทั้งนี้ชุดเดรสลายดอกไม้มีแขนพองเล็กน้อย แต่งกระดุมหน้าสีชมพู มาในราคาเพียง 59 ปอนด์ หรือประมาณ 2,600 บาท และพิสูจน์แล้วว่าเป็นสินค้าที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ 25 ปีของแบรนด์ Rachel Riley นักออกแบบชื่อดังเผยว่า “ฉันไม่รู้ว่าเจ้าหญิงชาร์ลอตต์จะทรงสวมเดรสของฉัน มันเป็นอะไรที่ดูดี และเป็นเรื่องน่าประหลาดใจมาก ฉันไม่ได้คาดหวังเลยและตอนนั้นฉันกำลังทำสวน! ฉันเพิ่งเห็นภาพตอนเพื่อนๆ […]

แฟชั่นนี้ควีนไม่ปลื้ม! เผยสไตล์ของสองดัชเชสที่ห้ามแต่งต่อหน้าควีน

แฟชั่นนี้ควีนไม่ปลื้ม! เผยไอเท็มต้องห้ามที่ดัชเชสเคทและดัชเชสเมแกนจะแต่งต่อหน้าควีนเอลิซาเบธที่ 2 ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะควีนทรงไม่ปลื้มแฟชั่นนี้อย่างแรง หากจะพูดถึงกฎกติกาและมารยาทของแฟชั่นที่เหล่าราชวงศ์อังกฤษต้องปฏิบัติตามนั้น มีอยู่หลายข้อที่เป็นธรรมเนียมเก่าแก่ ยึดถือปฏิบัติกันมานาน แม้ว่าทุกวันนี้จะไม่เข้มงวดเหมือนสมัยก่อน แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่สมาชิกในราชวงศ์อังกฤษต้องปฏิบัติตามทุกครั้งเมื่อออกงานสำคัญ ซึ่งหนึ่งในกฎของการแต่งกายที่เหล่าราชวงศ์ โดยเฉพาะสุภาพสตรีในราชวงศ์อังกฤษต้องปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือ อย่าสวมรองเท้าส้นเตารีดต่อหน้าควีนเอลิซาเบธที่ 2 เพราะควีนไม่ชอบรองเท้าส้นเตารีดและรองเท้าที่ทำจากไม้ก๊อก หากต้องพบกับควีนเอลิซาเบธที่ 2 ก็ควรจะเลี่ยงรองเท้าลักษณะนี้ อย่างเช่นเจ้าหญิงเคทจะทรงสวมรองเท้าส้นเตารีดตอนที่ไม่ประทับอยู่กับควีนเอลิซาเบธที่ 2 เพราะควีนมิได้ทรงเป็นแฟนของรองเท้าส้นเตารีด พระองค์ทรงไม่ชอบ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในเหล่าราชวงศ์ แต่แฟชั่นที่สวมใส่สบายอย่างรองเท้าส้นเตารีด กลับเป็นไอเท็มชิ้นโปรดของดัชเชสเคท เพราะสามารถแมทช์เข้ากับเสื้อผ้าได้หลากหลาย แถมยังใส่ได้นาน ไม่ปวดเมื่อยเท้า เราจึงมักจะเห็นดัชเชสเคทสวมรองเท้าส้นเตารีด ครั้งเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ หรือเมื่อไม่ได้ตามเสด็จฯ ควีนเอลิซาเบธอยู่บ่อยครั้ง ด้านดัชเชสเมแกนก็เช่นกัน แม้จะเพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ แต่กฎข้อห้ามต่างๆ ก็ทรงปฏิบัติอยู่ในกติกาที่กำหนดไว้ และเช่นเดียวกับดัชเชสเคท เพราะดัชเชสเมแกนจะเลือกสวมรองเท้าส้นเตารีดเมื่อเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ และเลี่ยงการสวมไอเท็มชิ้นนี้เมื่อต้องเสด็จฯ พร้อมกับควีนเอลิซาเบธที่ 2 บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ งดงามไม่เปลี่ยน! เปิดภาพลุคสดใสของ ‘เจ้าหญิงเคท’ เมื่อ 12 ปีที่แล้ว เรียกร้องมากไป? ควีนสั่งห้าม ‘ดัชเชสเมแกน’ ยืมเทียร่า Lover’s Knot […]

จากธรรมเนียมเก่าแก่สู่แฟชั่น! เผยเหตุ สุภาพสตรีในราชวงศ์อังกฤษ ต้องสวมหมวก

จากธรรมเนียมเก่าแก่สู่แฟชั่น! เผยเหตุ สุภาพสตรีในราชวงศ์อังกฤษ ต้องสวมหมวก แฟชั่นของ สุภาพสตรีในราชวงศ์อังกฤษ รวมถึงแขกผู้หญิงที่เข้าร่วมงานในพิธีเสกสมรสของราชวงศ์ มักจะใส่หมวกกันทุกคน เพราะหมวกนับเป็นสัญลักษณ์การแต่งกายตามแบบฉบับของผู้ดีอังกฤษ ดังนั้นในพิธีเสกสมรสจึงมีกฎว่าแขกผู้หญิงต้องใส่หมวกตลอดการร่วมพิธีในโบสถ์ ทั้งนี้ไม่ได้กำหนดสไตล์ของหมวกว่าจะต้องเป็นแบบใด ซึ่งแขกผู้หญิงทั้งหลายควรใช้วิจารณญาณแล้วเลือกสรรมาใส่อย่างเหมาะสม ในการแต่งกายแบบอังกฤษกำหนดให้สตรีสวมหมวกในงานที่เป็นทางการ เราจึงเห็นควีนเอลิซาเบธที่ 2  ทรงพระมาลาอยู่เสมอ นั่นไม่ใช่เป็นเพียงสไตล์ของพระองค์เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะมารยาทและธรรมเนียมในการแต่งกายแบบอังกฤษที่มีมาตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษที่ 1950 สุภาพสตรีส่วนใหญ่มักสวมหมวกเมื่อออกนอกบ้าน เพราะการเผยเส้นผมในที่สาธารณะไม่ใช่สิ่งที่ควรทำสำหรับสุภาพสตรีในยุคนั้น แต่ ณ ตอนนี้เหตุผลหลักในการสวมหมวกกลับไม่ใช่เหตุผลเดิม เพราะเป็นการสวมหมวกเพื่อร่วมงานสำคัญๆ ในระดับทางการ ซึ่งนอกจากนี้หลังจาก 6 โมงเย็นเป็นต้นไป สมาชิกราชวงศ์ฝ่ายหญิงจะต้องสวมรัดเกล้าหรือมงกุฎแทนการสวมหมวก จากประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของราชวงศ์อังกฤษก็กลับทำให้เกิดแฟชั่นที่ใครก็ต่างลงความเห็นกันว่างดงามและช่วยเสริมลุคให้ดูเป็นทางการมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังแฝงไปด้วยความเป็นแฟชั่นนิสต้าไปในตัว ทำให้ยอดขายหมวกที่ราชวงศ์ฝ่ายหญิงของอังกฤษสวมใส่ออกงานนั้นขายดีไม่น้อย และประเพณีก็เริ่มซึมซับไปในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ของชีวิต เช่น พิธีเสกสมรสหรืองานเลี้ยงน้ำชา ก็จะมีไอเท็มนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแต่งกายเสมอ ซึ่งควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเป็นเหมือนผู้นำในการปฏิบัติตามธรรมเนียมนี้ เนื่องจากพระองค์จะทรงสวมพระมาลาในทุกๆ โอกาส นอกจากหลังเวลา 6 โมงเย็นจะทรงเปลี่ยนมาสวมรัดเกล้าแทน แม้จะไม่ใช่สมาชิกของราชวงศ์ แต่ประชาชนทั่วไปก็สามารถใส่หมวกลักษณะเดียวกันได้ เพราะดีไซเนอร์ที่ออกแบบพระมาลาให้แก่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 อย่าง Rachel Trevor-Morgan ก็สามารถทำยอดขายได้มากถึง 50 […]

keyboard_arrow_up