เหตุผลที่แต่ละช่วงอายุ ควรต้อง ‘ตรวจสุขภาพ’ ต่างกัน มีปัจจัยอะไรบ้าง

ปีนี้คุณตรวจเช็คอัพสุขภาพกันหรือยัง? ปัจจุบันมีโปรแกรมตรวจหลากหลายมากเลย แต่ที่สำคัญต้องเลือกให้เหมาะกับแต่ละช่วงอายุ สามารถตรวจได้ทุกช่วงวัย เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเหตุผลที่ทำไมแต่ละช่วงอายุ ตรวจสุขภาพ ต่างกัน เพราะในแต่ละช่วงอายุ ร่างกายเรามีความเสื่อม และปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ เพศหญิงและเพศชาย ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยนอกจากจะมีความเสื่อมของอวัยวะแล้ว ยังมีในเรื่องของฮอร์โมน ค่าทางชีวเคมีต่างๆ ในร่างกายที่เสื่อมลงอีกด้วย นอกจากการตรวจสุขภาพตามช่วงวัยแล้ว อาจตรวจเพิ่มในกรณีที่มีความเสี่ยงเพิ่มเติม เช่น ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ หรือมีการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น หมอขอยกตัวอย่างการตรวจ และความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของแต่ละช่วงวัย ดังนี้ค่ะ นอกจากการตรวจสุขภาพตามช่วงวัยแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างก็คือ การฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันก็เริ่มอ่อนลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อบางชนิดได้ง่าย และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้มากกว่าอายุยังน้อย เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ งูสวัด เป็นต้น ข้อมูล: พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จากศูนย์ตรวจสุขภาพแอดไลฟ์ ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)ภาพ: Pexels

เคลียร์เรื่องเล็ก-ใหญ่กับ 10 ปัญหากวนใจ “ระบบภายในสตรี”

ปัญหา ระบบภายในสตรี มีความละเอียดอ่อน และส่งผลต่อความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปัญหาตกขาว หรือมีปัญหาช่องคลอดแห้ง รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ส่วนสตรีที่เคยคลอดลูกมักจะพบปัญหาระบบภายในหลังคลอด เช่น ภาวะมดลูกหย่อน และมดลูกแห้ง นอกจากนี้ปัญหาระบบภายในยังส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอีกด้วย เช่น ไข่ไม่ตก รังไข่เสื่อม ท้องยาก และมีภาวะวัยทองก่อนวัยอันควรที่มักพบในสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี  ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน เคลียร์เรื่องเล็ก-ใหญ่กับ 10 ปัญหากวนใจ “ระบบภายในสตรี“ ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ เผยว่าตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมาได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหามีบุตรยาก การเตรียมตั้งครรภ์และปัญหาระบบภายในสตรีทั้งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก และไม่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก แต่เป็นปัญหาระบบภายในที่กวนใจผู้หญิง โดยครูก้อยได้รวบรวม 10 ปัญหากวนใจเกี่ยวข้องกับระบบภายในสตรี ดังนี้ 1.ปัญหาช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดแห้ง ไม่มีน้ำหล่อลื่น รู้สึกเจ็บ คัน หรือ เจ็บปวดแสบเวลามีเพศสัมพันธ์ ไม่มีมูกตกไข่ ซึ่งมูกตกไข่ มีคุณสมบัติ เป็นน้ำหล่อลื่น มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ โดยในช่วงตกไข่ของผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนดี หรือระบบภายในร่างกายดีจะผลิตมูกตกไข่ มีน้ำหล่อลื่นออกมา เพื่อช่วยให้สเปิร์มเคลื่อนตัวเข้าไปในโพรงมดลูกได้ง่าย และที่สำคัญมูกตกไข่ และน้ำล่อลื่นในช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นด่าง ซึ่งเป็นมิตรกับสเปิร์ม […]

“โรคไตเรื้อรัง” เกิดจากอะไร รักษาหายขาดได้ไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร?

ปกติคนเรามีไต 2 ข้างแต่กำเนิด ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีขนาดประมาณกำปั้นอยู่บริเวณบั้นเอวด้านหลัง ไตทำหน้าที่หลักในการขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกมาทางปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่อื่นๆ เช่น ควบคุมปริมาณน้ำ ปรับสมดุลระดับเกลือแร่และความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย อีกทั้ง ยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งหากไตทำงานผิดปกติจะนำมาซึ่งภาวะไตวายหรือโรคไตเรื้อรัง พร้อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายตามมา “โรคไตเรื้อรัง” เกิดจากอะไร รักษาหายขาดได้ไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร? โดย น.อ. หญิง พญ. วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี อายุรแพทย์โรคไต ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง จะมาให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไต ในตอน “โรคไต 101” เสริมความเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค ตลอดจนวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง” โรคไตเรื้อรังเกิดจากอะไร? โรคไตเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลัก 3 อันดับแรกมักเกิดจาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตอักเสบ ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและทวีป ซึ่งสำหรับประเทศไทย สาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรังที่พบมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น การใช้ยาสมุนไพร การกินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบเองติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงการติดกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสชาติเค็มจัด ทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนเกิดปัญหาไตเสื่อมและกลายเป็นโรคไตเรื้อรังในที่สุด จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง? หากเริ่มสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าไตทำงานผิดปกติ เช่น สามารถขับปัสสาวะได้น้อยลง ทำให้มีน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการตัวบวม เช่น บริเวณหลังเท้า เมื่อใส่รองเท้าประเภทแตะคีบแล้วมีรอยชัด เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของเสียคั่งในร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยไตวายระยะท้ายๆ จะรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และนอนไม่หลับ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว อาจหมายถึงสภาพของไตนั้นเข้าขั้นวิกฤติ โรคไตเรื้อรังสามารถรักษาได้หรือไม่ และมีวิธีป้องกันอย่างไร? ถึงแม้โรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะอวัยวะได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วและจะเสื่อมลงจนถึงระยะที่เรียกว่าไตวายระยะสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลากหลายวิธีในการชะลอการเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่โรคไตระยะสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมความดัน คุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และคุมอาหาร เช่น ไม่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนหรือมีความเค็มมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดลดอักเสบเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะทำให้ช่วยยืดระยะเวลาในการเข้ารับการบำบัดทดแทนไตออกไปได้ สำหรับคนทั่วไป วิธีป้องกันโรคไตเรื้อรังคือควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มมากเกินไป ห้ามซื้อยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดมาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ พร้อมทั้งควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว รวมถึงการเลิกสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดแล้ว บุหรี่ยังทำให้เกิดโรคไตวายได้อีกเช่นกัน ที่สำคัญคือห้ามกลั้นปัสสาวะ เพราะเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เกิดการติดเชื้อบ่อยและส่งผลต่อไต ทำให้ไตเสื่อมและไตวายขึ้นมาได้ นอกจากนี้อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ ด้วยวิธีการตรวจเลือดเพื่อหาค่าของเสียครีเอตินีน (Creatinine) และการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาว่ามีค่าโปรตีนรั่วหรือไม่ ซึ่งมีเพียง 2 วิธีนี้เท่านั้นที่จะสามารถวินิจฉัยและคัดกรองความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้ สามารถติดตาม “คุยเรื่องไต ไขความจริง” และข้อมูลข่าวสารได้ทางเพจ Facebook สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย – The Nephrology Society of Thailand  ภาพ Cover : Pexels บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“มะเร็งเต้านม” ป้องกันได้ไหม มีวัคซีนหรือไม่ และเทคนิคตัดเต้าแบบใหม่ดีอย่างไร?

คำถามยอดนิยมตลอดกาลเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม คือ ป้องกันได้ไหม? มีวัคซีนไหม? ตรวจคัดกรองเรื่อยๆ เหมือนรอให้เป็นแล้วค่อยรักษา? อยากมีวิธีป้องกันมากกว่า? ประโยคเหล่านี้เป็นคำถามจากคนไข้ที่มักได้ยินเป็นประจำ ซึ่งสามารถให้คำตอบสั้นๆ คือป้องกันได้ แต่ต้องอธิบายยาววว บทความนี้จะช่วยตอบทุกประเด็นและคลายทุกข้อสงสัย “มะเร็งเต้านม” มากกว่ารักษาคือการป้องกัน ก่อนอื่นขอปูพื้นความรู้เล็กน้อยก่อนว่ามะเร็งเต้านมอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามการตอบสนองต่อฮอร์โมน ได้แก่ Hormone Receptor Positive และ Hormone Receptor Negative ซึ่งส่วนใหญ่ของมะเร็งเต้านมเป็นชนิด Receptor Positive ฉะนั้น จึงเกิดแนวความคิดว่าถ้าเราลดการตอบสนองต่อฮอร์โมนได้ โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมควรลดลง ซึ่งจากงานวิจัยก็พบว่าข้อสันนิษฐานเป็นความจริง และสามารถนำมาใช้แนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันได้จริง (Recommendation Guideline) โดยมี 2 วิธี คือ 1. ใช้ยาทานต้านฮอร์โมน เรียกวิธีนี้ว่า Chemoprevention (แต่ไม่ใช่ยาเคมี) ยาที่ใช้ก็คือ ยาต้านที่เคยนำมาใช้ในการรักษานั่นเอง อาทิ Tamoxifen, Raloxifene และ Aromatase Inhibitor 2. การผ่าตัด เพื่อลดการตอบสนอง ด้วยการตัดรังไข่ที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนออกทั้ง 2 ข้าง โดยทั้ง 2 วิธีนี้พบว่าให้ผลในการป้องกันมะเร็งเต้านมได้ 60-70% เฉพาะชนิด Hormone Receptor Positive ฉะนั้น จึงต้องเริ่มกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะป้องกันมะเร็งเต้านมได้ทั้ง 2 ชนิด ซึ่งคำตอบก็ง่ายมากคือ ไม่มีเต้านมซะก็สิ้นเรื่อง ยังไม่ต้องวิจัยก็เดาผลได้ว่าน่าจะจริง และน่าจะเป็นการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเกิน 90% และผลการวิจัยก็เป็นเช่นนั้น โดยในช่วงแรกจะเป็นการผ่าตัดเต้านมแบบเรียบๆ ทั้ง 2 ข้าง หรือ Prophylactic Bilateral Simple Mastectomy ซึ่งมีจำนวนเคสที่ทำไม่มาก (ก็แน่ล่ะ ผู้หญิงคนไหนจะอยากทำ) ต่อมาได้พัฒนา “เทคนิคการตัดเต้าแบบใหม่ พร้อมกับการเสริมสร้างหน้าอกขึ้นมาใหม่” ในการผ่าตัดคราวเดียวกัน โดยการผ่าตัดนี้จะเก็บรูปลักษณ์ภายนอกของเต้านมไว้ทั้งหมด […]

“ไวรัสมะเร็งปากมดลูก” เกิดเชื้อนี้ได้อย่างไรในผู้ชาย

ไวรัสมะเร็งปากมดลูก เป็นชื่อที่คุ้นหูมาหลายปี เพราะมากกว่า 90%ของมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบไวรัสตัวร้ายนี้เสมอ ปี 2017 ที่ผ่านมา มีรายงานจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยยอดชายรักชาย ที่ติดเชื้อไวรัส HIV หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ โดยมีการตรวจพบเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก (HPV) ร่วมด้วยถึง 85% ซึ่งเชื้อ HPV ในเพศชายนี้สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต รวมถึงมะเร็งปากทวารหนัก สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกับที่มะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิงนั่นเอง เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้ “ไวรัสมะเร็งปากมดลูก” ในผู้ชาย ผู้ชายสามารถรับเชื้อนี้ได้อย่างไรไวรัส HPV นั้นมักจะพบจากการมีเพศสัมพันธ์ (ทางปาก ช่องคลอด ทวารหนัก) รวมทั้งการสัมผัสเชื้อโดยตรง ในปัจจุบันไวรัส HPV มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 เป็นตัวก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ส่วนสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จุดกำเนิดเริ่มต้นของเพศที่แพร่เชื้อนั้น จึงพบได้ทั้งสองเพศ ดังนั้น การรณรงค์ให้หญิงเป็นฝ่ายวิ่งหาวัคซีนป้องกันแต่เพียงเพศเดียวอาจดูไม่ยุติธรรมเท่าใดนัก เพศชายที่มีความเสี่ยง เช่น […]

keyboard_arrow_up