บทเพลงพระราชนิพนธ์

ไพเราะจับใจ รวม 48 บทเพลงพระราชนิพนธ์ ในหลวงรัชกาลที่ 9

Alternative Textaccount_circle
บทเพลงพระราชนิพนธ์
บทเพลงพระราชนิพนธ์

37. ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind)

เพลงพระราชนิพนธ์ ในดวงใจนิรันดร์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๗ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ คำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองเป็นเพลงแรก ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย

38. เตือนใจ (Old-Fashioned Melody)

เตือนใจ Old-Fashioned Melody เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๘ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษใน พ.ศ. ๒๕๐๘ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย

39. ไร้เดือน (No Moon), ไร้จันทร์

เพลงพระราชนิพนธ์ ไร้เดือน หรือ ไร้จันทร์ หรือ No Moon เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๙ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษพร้อมกันใน พ.ศ. ๒๕๐๘ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอาจินต์ ปัญจพรรค์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย ชื่อ “ไร้จันทร์” ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวายชื่อ “ไร้เดือน”

40. เกาะในฝัน (Dream Island)

เพลงพระราชนิพนธ์ เกาะในฝัน หรือ Dream Island เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๐ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษพร้อมกันใน พ.ศ. ๒๕๐๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย

41. แว่ว (Echo)

เพลงพระราชนิพนธ์ แว่ว หรือ Echo เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๑ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษพร้อมกันใน พ.ศ. ๒๕๐๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย เพลงนี้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลงเป็นครั้งแรกในงานสังคีตมงคล ครั้งที่ ๑ ณ บริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙

42. เกษตรศาสตร์

เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ซึ่งจัดว่าเป็น 1 ใน 3 สถาบันการศึกษาที่พระองค์ได้พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นเพลงประจำสถาบัน โดยอีก 2 เพลง ได้แก่ เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ พระราชทานให้เป็นเพลงประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2492 และเพลงพระราชนิพนธ์ ยูงทองที่พระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2506

43. ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream)

เมื่อ พ.ศ. 2512 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้รับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติเพื่อประเทศชาติ ออกมาเป็นกลอน 5 บท สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดให้พิมพ์บทกลอนนี้ลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็ก ๆ พระราชทานแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน “ความฝันอันสูงสุด” ใน พ.ศ. 2514 ขับร้องโดย ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

44. เราสู้

เพลงพระราชนิพนธ์ เราสู้ เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๔ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๑๖ นายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ ๔ บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัย ที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลง “เราสู้” พระราชทานให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ทหาร อาสาสมัครและตำรวจชายแดน ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตีบรรทัด ๕ เส้น เพื่อทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง เสร็จแล้วพระราชทานให้ วง อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลงอยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ นำออกบรรเลง ณ พระราชวังบางปะอิน จากนั้นได้ทรงนำกลับไปแก้ไขก่อนจะพระราชทานออกมาให้วงดนตรี อ.ส

45. เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21)

เพลงพระราชนิพนธ์ เรา-เหล่าราบ ๒๑ หรือ We-Infantry Regiment 21 เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๕ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพลงนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ให้ร้อยตำรวจโทวัลลภ จันทร์แสงศรี แต่งเนื้อเพลงให้แก่กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ หรือที่รู้จักในนามว่า “ทหารเสือพระราชินี” แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงพระราชทาน

46. Blues for Uthit

เพลงพระราชนิพนธ์ Blues for Uthit เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 46 ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายอุทิตต์ ทินกร ณ อยุธยา นักดนตรี วง อ.ส. วันศุกร์ ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2522 และได้พระราชทานให้วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ นำออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2522

47. รัก

เพลงพระราชนิพนธ์ รัก เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถกราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงสำหรับกลอนสุภาพ ๓ บท ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา

48. เมนูไข่

เพลงพระราชนิพนธ์ เมนูไข่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๘ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อพระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ด้วยทรงรำลึกได้ว่า สมเด็จพระเชษฐภคินีโปรดเสวยพระกระยาหารที่ทำจากไข่ เป็นแรงบันดาลพระราชหฤทัย ให้ทรงพระราชนิพนธ์ กอปรกับทรงพบโคลงสี่ “เมนูไข่” ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘

 

 

ที่มา  : วิกิพีเดีย th.wikipedia.org/wiki/เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
Youtube : cokefreshfx / Dariusz Mikulski
ภาพจาก Facebook : damnnakdontree

Praew Recommend

keyboard_arrow_up