การยิงสลุต

รู้ไหม..ทำไม “ทหารปืนใหญ่ต้องยิงสลุต 21 นัด” แล้วลูกกระสุนไปตกที่ไหน

Alternative Textaccount_circle
การยิงสลุต
การยิงสลุต
เมื่อวานนี้ (26 ตุลาคม 2560) ระหว่างงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หลายคนคงจะได้เห็นภาพและเสียงที่ดังกึกก้องทั่วท้องสนามหลวงผ่านการถ่ายทอดสดแล้ว ในช่วงที่ทหารปืนใหญ่ยิงสลุต 21 นัด โดยการยิงแต่ละครั้งเป็นเพียงการกระทำเชิงสัญลักษณ์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ในหลวงรัชกาลที่ ๙

ฉะนั้น ปืนใหญ่ที่ใช้จึงไม่ได้บรรจุกระสุนจริง เป็นเพียงลูกแบลงค์ (blank) ที่ทำให้เกิดเสียงและควันเท่านั้น หวังว่าข้อมูลนี้จะช่วยไขข้อข้องใจสำหรับหลายคนที่ไม่ทราบหรือสงสัยว่าการยิงปืนใหญ่สลุตเป็นอันตรายหรือเปล่า แล้วลูกกระสุนจะไปตกที่ไหนได้นะคะ

โดยการยิงสลุตในไทย มีขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนมายกเลิกในสมัยสมเด็จพระเพทราชา จากนั้น ธรรมเนียมการยิงสลุตนี้เริ่มกลับมารื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 คราวที่ต้อนรับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ราชทูตอังกฤษ เมื่อปีพ.ศ.2398 โดยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ จัด 1 กองร้อยปืนใหญ่ยิงสลุตในขั้นตอนถวายพระพร โดยทำการยิงตามจังหวะของเพลงสรรเสริญพระบารมี 21 นัด

สมัยก่อนการยิงสลุตในไทยยังไม่มีข้อบังคับ เพิ่งจะมีข้อบังคับในการยิงสลุตช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพ.ศ. 2448 เรียกว่า “ข้อบังคับว่าด้วยการยิงสลุต ร.ศ.125” ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกำหนดการยิงสลุตขึ้นใหม่คือ การยิงสลุต ร.ศ.131 (พ.ศ.2455) กำหนดให้มีจำนวนปืนไม่ต่ำกว่า 4 กระบอก ซึ่งมีขนาดลำกล้องไม่เกิน 120 มิลลิเมตร ห้ามยิงตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกไปแล้วจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น แบ่งประเภทการยิงสลุตไว้ 3 ประเภท คือ สลุตหลวง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สลุตหลวงธรรมดา มีจำนวน 21 นัด และสลุตหลวงพิเศษ มีจำนวน 101 นัด สลุตข้าราชการ และสลุตนานาชาติ

พระราชกำหนดยิงสลุต ร.ศ.131 (พ.ศ.2455) ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2483 แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ทางราชการรื้อฟื้นประเพณียิงสลุตขึ้นมาใหม่ เริ่มยิงสลุตครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2491 ดังนั้น ประเพณีการยิงสลุตจึงสืบทอดจากนั้นมาจนทุกปัจจุบัน

ที่มา : wikipedia (การยิงสลุต) / คลิปจาก YouTube : ไทยกระจ่าง

Praew Recommend

keyboard_arrow_up