รู้จัก “เพลงพญาโศก” บทเพลงแห่งความอาลัยในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ

ในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นอกจากจะมีองค์ประกอบเป็นสิ่งที่ต้องจัดสร้างอย่างเวชยันตราชรถ พระที่นั่งราเชนทรยาน พระราเชนทรยานน้อย ฯลฯ หรือส่วนสำคัญอื่นๆ แล้ว อีกอย่างที่จะขาดไปไม่ได้คือเพลงหรือดนตรีที่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี ซึ่งเพลงที่นำมาใช้ในครั้งนี้คือ เพลงพญาโศก หรือ เพลงโศกประจำชาติ นั่นเอง
หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าเพลงพญาโศกมีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงได้นำมาใช้ในพระราชพิธีสำคัญเช่นนี้ วันนี้แพรวดอทคอมได้นำข้อมูลจากเว็บไซต์ kingrama9.th ที่กล่าวถึงประวัติของเพลงโศกประจำชาติมาให้ได้อ่านกัน
 
เพลงพญาโศก หรือเพลงโศกประจำชาติ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงฯ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ทรงนำเพลงพญาโศกอัตรา 2 ชั้นมาเรียบเรียงเป็นโน้ตสากล ทั้งเพิ่มเติมเสียงประสานให้มีความไพเราะ เป็นแบบเพลงตะวันตก เพื่อให้กองแตรวงทหารบรรเลงแทนเพลงสโลว์มาร์ชที่เป็นของต่างชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรเลงครั้งแรก

“เพลงพญาโศก” หรือ “เพลงโศกประจำชาติ”

“เพลงพญาโศก” หรือ “เพลงโศกประจำชาติ” เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงนำเพลงพญาโศกอัตรา 2 ชั้นมาเรียบเรียงเป็นโน้ตสากล ทั้งเพิ่มเติมเสียงประสานให้มีความไพเราะเป็นแบบเพลงตะวันตก เพื่อให้กองแตรวงทหารบรรเลงแทนเพลงสโลว์มาร์ชที่เป็นของต่างชาติเพลงพญาโศก บรรเลงโดยกรมดุริยางค์ทหารบกในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 2อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.kingrama9.th/Honor/Detail/40ที่มา : กรมดุริยางค์ทหารบก#พญาโศก #เพลงโศกประจำชาติ #ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ #ริ้วขบวน #รัชกาลที่9 #กรมดุริยางค์ทหารบก #กรมประชาสัมพันธ์

โพสต์โดย ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บน 9 ตุลาคม 2017

ในการพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี พระพันปีหลวง และมีพระราชดำรัสว่า “เพลงนี้ได้ทำขึ้นเหมาะแก่การใช้นำศพอย่างยิ่ง เพราะดี สมควรเป็นเพลงโศกจริงๆ ต่อไปขอให้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงโศกประจำชาติ และใช้นำตั้งแต่พระบรมศพ ตลอดจนศพสามัญได้” หลังจากนั้นจึงใช้เพลงพญาโศกแทนที่เพลงที่ใช้บรรเลงมาก่อนหน้านี้

ต่อมาเมื่อเสด็จฯไปรับราชการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ทูลกระหม่อมบริพัตรทรงพระนิพนธ์เพิ่มเติม โดยนำเพลงต้นพญาโศกมาเรียบเรียงให้เป็นท่อน 2 เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น จนเป็นที่นิยมใช้กันในการบรรเลงขณะเคลื่อนขบวนศพจนถึงปัจจุบัน เพลงพญาโศกบรรเลงโดยกรมดุริยางค์ทหารบก ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศริ้วที่ 2


1
ภาพ :  kingrama9.th
ที่มา : กรมดุริยางค์ทหารบก, kingrama9.th
1

Praew Recommend

keyboard_arrow_up