๒๔ คำศัพท์ควรรู้ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เราคนไทยควรใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีให้ถูกต้อง ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ที่คนไทยไม่เคยเจอและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นก็ตาม แต่ตอนนี้คงต้องเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าอย่างไรในฐานะคนไทยควรรู้คำศัพท์ที่สำคัญเหล่านี้ไว้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะช่วงเดือนตุลาคมปี ๒๕๕๙ คำศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับพระราชพิธีทำให้หลายคนสับสนอยู่ไม่น้อย ทั้งคำอ่านและความหมาย

ในเดือนนี้ที่ต้องได้รับฟัง ได้เห็นคำศัพท์ในพระราชพิธีอีกครั้ง แพรวดอทคอมเลยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ kingrama9.th ที่ได้บอกคำศัพท์น่ารู้ให้เราทราบ ต่อไปถ้าหากได้ยินหรือเห็นคำศัพท์ก็คงเข้าใจได้ไม่ยากแล้ว และทั้งนี้ยังมีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารของผู้ที่ได้ศึกษาด้วย

คำศัพท์ควรรู้มี ๒๔ คำ ดังนี้

 

สิ่งปลูกสร้างโดยขนบนิยมอย่างไทย มีลักษณะเป็นเครื่องยอดขนาดใหญ่ สูง สำหรับประดิษฐานพระบรมศพ ภายในมีพระเมรุทองซึ่งมีรูปทรงอย่างบุษบกขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพสำหรับถวายพระเพลิง ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ
เครื่องกั้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ บนพระเมรุมาศหรือพระเมรุ เพื่อบังมิให้ไฟลุกลามขณะถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ มีลักษณะเป็นฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน เมื่อจะใช้งานจึงดึงหรือยกมาปิดไว้
อาคารโถง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่่จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นที่สำหรับพระสงฆ์สดับปกรณ์ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
ที่ประชุมข้าราชการแห่งหนึ่ง อยู่นอกพระบรมมหาราชวังใกล้ๆ ศาลหลักเมือง เป็นที่ประชุมข้าราชการฝ่ายตุลาการชั้นสูง เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง บางทีเรียกว่า ศาลาลูกขุนนอก อีกแห่งหนึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เรียกว่า ศาลาลูกขุนใน เป็นที่ประชุมข้าราชการชั้นสูง
เขตที่ประทับนั่งแห่งพระพุทธรูป พระระเบียง ระเบียงที่ล้อมพระเมรุมาศ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกตรงมุขหลังของพระเมรุ เป็นอาคารขนาดเล็กภายในเขตราชวัติ ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย มีฝากั้นโดยรอบ เป็นสถานที่สำหรับเก็บพระโกศหลังจากได้เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธานแล้ว
อาคารจำนวน ๖ หลัง สร้างติดรั้วราชวัติทั้ง ๔ ทิศ ด้านทิศเหนือ ใต้ ด้านละ ๑ หลัง ด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกด้านละ ๒ หลัง ด้านหน้าเปิดโล่ง หลังคาเป็นลักษณะหลังคาปะรำ (หลังคาแบน) ใช้สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพัก และใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมพระศพ
สถานที่สำหรับพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีจำนวน ๔ หลัง อยู่ที่มุมติดกับรั้วราชวัติ ๒ หลัง และที่มุขด้านทิศเหนือและทิศใต้อย่างละ ๑ หลัง
เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญพระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง
เป็นราชรถที่เชิญพระโกศพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ไทย หรือพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงรับราชการทหารเมื่อครั้งดำรงพระชนม์ชีพ
เป็นคานหามขนาดใหญ่ กลางตั้งแท่นทำด้วยไม้สลักปิดทองประดับกระจกสี มีพนักโดยรอบ ๓ ด้าน และมีคานหาม ๓ คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน
พระที่นั่งราเชนทรยานใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่อย่างใหญ่ที่เรียกว่า ขบวนสี่สาย เช่น ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะเสด็จพระราชดำเนินจากพระราชมณเฑียร ไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้นยังใช้ในการเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินี จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวังด้วย
มี ๓ หลัง ตั้งที่ท้องสนามหลวง นอกรั้วราชวัติ ด้านทิศเหนือ ๑ หลัง ใช้สำหรับเสด็จประทับรับพระศพลงจากราชรถ ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๑ หลัง ใช้สำหรับเจ้านายฝ่ายในและประทับทอดพระเนตรกระบวนและถวายบังคมพระศพ และที่หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีก ๑ หลัง ใช้สำหรับเสด็จประทับส่งพระศพขึ้นราชรถ
การที่เจ้าพนักงานภูษามาลาหรือเจ้าพนักงานสนมพลเรือนเอาผ้าขาวห่อศพและใช้ด้ายดิบมัดตราสัง แล้วบรรจุศพลงโกศหรือหีบศพซึ่งมีกระดาษฟางปูรองรับ เช่น เจ้าหน้าที่จะสุกำศพ ทำสุกำศพ ก็ว่า
ศพพระมหากษัตริย์
ฉัตร ๙ ชั้น เป็นฉัตรชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ ทำด้วยผ้าขาวขลิบทอง ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว
สัตตมวาร เป็นคำเรียกวันทำบุญครบรอบ ๗ วันของผู้วายชนม์ โดยเป็นคำศัพท์พระราชพิธี
ปัณรสมวาร เป็นคำเรียกวันทำบุญครบรอบ ๑๕ วันของผู้วายชนม์ โดยเป็นคำศัพท์พระราชพิธี
ปัญญาสมวาร เป็นคำเรียกวันทำบุญครบรอบ ๕๐ วันของผู้วายชนม์ โดยเป็นคำศัพท์พระราชพิธี
สตมวาร เป็นคำเรียกวันทำบุญครบรอบ ๑๐๐ วันของผู้วายชนม์ โดยเป็นคำศัพท์พระราชพิธี
ทำบุญแก่พระบรมวงศานุวงศ์ (ใช้แก่พระมหากษัตริย์)
ทำบุญถวายแด่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชบุพการี (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ )
กระดูกที่เผาแล้ว ใช้แก่พระมหากษัตริย์
คำกริยา คือ บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย) ส่วนคำนามหมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย คำในภาษาบาลีเขียน สตฺตปฺปกรณ ส่วนภาษาสันสกฤตเขียน สปฺตปฺรกรณ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

 

ข้อมูล : kingrama9.th

ภาพ : kingrama9.th

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up